การปลูกอ้อยปลอดไฟและได้มาตรฐาน

ความเป็นมา
ตำบลในเมือง  ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตรเป็นหลัก และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ เหมาะสำหรับทำไร่ เช่น การทำไร่ถั่วเหลือง ถั่วเขียวผิวมัน ถั่วเขียวผิวดำ อ้อย เป็นต้น โดยเฉพาะการทำไร่อ้อย กำลังเป็นที่นิยมปลูกกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีการดูแลรักษา , ราคาและแหล่งรับซื้อเป็นแรงจูงใจ ให้เกษตรกรหันมาผลิตอ้อยกันเป็นจำนวนมาก ประกอบกับในขั้นตอนการผลิตเกษตรกรเหล่านี้ยังมีความเข้าใจไม่ถูกในขบวนการผลิต โดยเฉพาะการเผา ใบอ้อย ซึ่งส่งผลทำให้เกิดความเสียหายในระบบนิเวศ , สุขภาพของเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนต้นทุนในการผลิตที่เพิ่มมาขึ้นอีกด้วย หลังจาก  ได้รับความรู้เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอสวรรคโลก ,สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดสุโขทัย , บริษัท น้ำตาลไทยเอกลักษณ์ จำกัด  ตลอดจนเจ้าหน้าที่ในส่วนอื่นๆ ถึงวิธีการจัดการอ้อยปลอดไฟและได้มาตรฐาน ข้าพเจ้าจึงนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังและขยายผลให้กับเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยรายอื่นๆ ได้ปฏิบัติตามต่อไป

ขั้นตอนการปฏิบัติ
ในขั้นตอนการผลิตอ้อย มีขั้นตอนหนึ่งซึ่งหากดำเนินการผิดพลาดแล้วจะทำให้เกิดผลกระทบและเกิดความเสียหายให้กับระบบนิเวศ , สุขภาพของเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนต้นทุนในการผลิต นั่นคือการเผาใบอ้อย โดยก่อนทำการตัดใบอ้อย หากไม่เผาใบอ้อย แรงงานในการตัดอ้อยจะตัดลำบากและเกิดข้อต่อรองไม่อยากเข้าไปทำการตัดอ้อยให้ เกษตรกรจึงจำเป็นต้องเผา อีกประการหนึ่ง หากเหลือเศษใบอ้อยไว้ในแปลงอ้อย ก็จะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้   

วิธีการ
1. ปลูกพืชในพื้นที่ที่ไม่เคยเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลโรงงานอุตสาหกรรม โรงเก็บสารเคมี หรือที่ทิ้งขยะมาก่อน และใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่ไม่มีการปนเปื้อนจากสารพิษตลอดจนสิ่งที่เป็นอันตราย หลีกเลี่ยงการใช้น้ำจากแหล่งที่อยู่ใกล้หรือไหลผ่านชุมชน,โรงเก็บสารเคมี ,โรงพยาบาล หรือโรงงานอุตสาหกรรม มีการใช้สารเคมีที่ให้ใช้ได้ และใช้ตามฉลาก ตลอดจนมีเก็บสารเคมีที่ถูกต้อง ขณะใช้ต้องสวมชุดป้องกันจากสารเคมี ทุกขั้นตอนควรมีการจดบันทึกเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปลูกครั้งต่อไป , สามารบอกกำไรขาดทุนได้ สามารถสืบค้นประวัติได้
2. ปฏิบัติตามแผนควบคุมการผลิต โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก ใช้ระยะห่างระหว่างแถว 1.3-1.5 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 5-10 เซนติเมตร  เพื่อสะดวกในการจัดการในแปลงและอุปกรณ์ทางการเกษตร ระหว่างอ้อยเจริญเติบโต ควรให้ปุ๋ยและน้ำเป็นระยะ
3. ให้ทำการสางใบอ้อยก่อนทำการตัดอ้อย 1 เดือน แรงงานเก็บเกี่ยวจะสามารถเข้ามาเก็บเกี่ยวได้งานจึงไม่มีข้อต่อรองใดใด นอกจากนี้แปลงอ้อยมีการระบายถ่ายเทอากาศดี ต้นอ้อยเจริญเติบโตดี ซึ่งมีรายงานดังนี้
- อ้อยพันธุ์ LK 95-269 ไม่สางใบจะให้ผลผลิต 13 . 66 ตันต่อไร่ ให้ค่าความหวาน(ccs) 13.35 เมื่อสางใบจะให้ผลผลิต 14 ตันต่อไร่ ให้ค่าความหวาน(ccs) 14.98
- อ้อยพันธุ์ LK 92-11 ไม่สางใบจะให้ผลผลิต 14.21 ตันต่อไร่ เปอร์เซ็นล้ม 4.66 เมื่อสางใบจะให้ผลผลิต 17.96 ตันต่อไร่ เปอร์เซ็นล้ม 0.00ที่มา:ฝ่ายวิชาการไร่ บริษัท น้ำตาลไทยเอกลักษณ์ จำกัด
4. หลังจากทำการตัดอ้อยแล้ว 1 สัปดาห์ ใช้ผาน 4 คลุกใบอ้อย สับ 1 ครั้ง ใส่ปุ๋ยกลางร่อง เพื่อให้รากส่วนใหญ่ได้สารอาหารมากที่สุด และเสริมความแข็งแรงของปลายรากอ้อยด้วย สูบน้ำเข้าร่องโดยผสมน้ำหมักชีวภาพในการบำรุงดินและสลายใบอ้อย
5. เมื่อดินหมาด ประมาณ 2 สัปดาห์ ใช้ผาน 8 คลุกใบอ้อยอีกครั้ง เพื่อให้ใบสลายเป็นอาหารให้กับต้นอ้อยได้ กรณีที่ดอนใช้น้ำฝน ควรมีการคลุกใบครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งที่ 2 ประมาณ 2 สัปดาห์ จะสังเกตได้ว่า การคลุกใบอ้อยนอกจากดินจะได้ความอุดมสมบรูณ์แล้วยังป้องกันการเกิดอัคคีภัยและลดปัญหาเรื่องวัชพืช ลดค่าใช้จ่ายในการปราบวัชพืช และลดสารพิษในแปลง นอกจากนี้ดินที่มีการคลุกใบยังดูดทรัพย์น้ำทำให้อ้อยที่กำลังเจริญเติบโตไม่ขาดน้ำในหน้าแล้งอีกด้วย

ผลสัมฤทธิ์
ในระยะยาว การทำไร่อ้อยปลอดไฟและได้มาตรฐานนี้ จะสามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้แก่เกษตรกรและยังสามารถรักษาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสุขภาพของเกษตรกรและคนรอบข้างอย่างยั่งยืน อีกด้วย

คุณอำนวย: นายนเรศ แก้วมณี เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยปลอดไฟและได้มาตรฐาน
คุณกิจ: เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอสวรรคโลก, สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดสุโขทัย, เจ้าหน้าที่ บริษัทน้ำตาลไทยเอกลักษณ์ จำกัด
คุณเอื้อ: นายประยูร อินประถม เกษตรอำเภอสวรรคโลก
คุณลิขิต: นายสุกิติ์ วงศ์โดยหวัง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สำนักงานเกษตรอำเภอสวรรคโลก
เบอร์โทรศัพท์: 0-5564-3031 เบอร์แฟกซ์: ---
ถนนจรดวิถีถ่อง สวรรคโลก สุโขทัย ประเทศไทย
Powered by Kaset Bay