กล้วยตานีพืชเศรษฐกิจ
การปลูกกล้วยในประเทศไทยมีมาช้านาน เริ่มจากปลูกเพื่อทานกันในครัวเรือน จนปัจจุบันปลูกเพื่อการค้า กล้วยที่นิยมปลูกกันทั่วไป ได้แก่ กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยทั้ง 3 ชนิดนี้มีผู้ปลูกจำนวนมาก
แต่สำหรับอำเภอสวรรคโลกแล้ว กล้วยที่ปลูกกันมากเพื่อการค้าไม่แพ้กล้วยทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ กล้วยตานี ซึ่งมีพื้นที่ปลูกประมาณ 8,000 กว่าไร่ มีมูลค่าการผลิตต่อปีกว่า 128 ล้านบาท และพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ที่ตำบลคลองกระจง ผลผลิตหลักของกล้วยตานี คือ ใบตอง ถือว่ากล้วยตานีเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอสวรรคโลก
แต่สำหรับอำเภอสวรรคโลกแล้ว กล้วยที่ปลูกกันมากเพื่อการค้าไม่แพ้กล้วยทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ กล้วยตานี ซึ่งมีพื้นที่ปลูกประมาณ 8,000 กว่าไร่ มีมูลค่าการผลิตต่อปีกว่า 128 ล้านบาท และพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ที่ตำบลคลองกระจง ผลผลิตหลักของกล้วยตานี คือ ใบตอง ถือว่ากล้วยตานีเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอสวรรคโลก
การปลูกกล้วยตานีเป็นการปลูกแซมกับไม้ผลชนิดอื่น ได้แก่ มะปราง ละมุด ฯ เพื่อใช้เป็นตัวกันลมไม่ให้ใบตองแตกเสียหาย เป็นการปลูกแบบธรรมชาติ ใช้อินทรียวัตถุเป็นหลัก
จากการบอกเล่าประสบการณ์การปลูกกล้วยตานีของนายบุญชอบ เอมอิ่ม เกษตรกรดีเด่น ถึงการปลูกกล้วยตานีให้มีคุณภาพ หลักสำคัญมีดังนี้
การปลูกกล้วยตานี
การปลูกกล้วยตานี
- สภาพพื้นที่ต้องไม่มีลมแรง และไม่ควรเป็นพื้นที่นา
- การปลูกต้องปลูกร่วมกับพืชอื่นที่สูงกว่า เช่น มะปราง
- ระยะปลูกที่เหมาะสม 2.50 x 2.50 เมตร หรือ 3 x 2.50 เมตร ประมาณ 200-260 ต้น/ไร่
- การให้ปุ๋ย จะให้ปุ๋ย 3 ครั้ง/ปี ได้แก่
ครั้งที่ 1 ปุ๋ยอินทรีย์
ครั้งที่ 2 ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 12 กก./ไร่
ครั้งที่ 3 ใช้ปุ๋ยคอก
* สารเคมีไม่ต้องใช้
การเก็บผลผลิต
การเก็บผลผลิต
ผลผลิตหลัก ได้แก่ ใบตอง
- ตัดใบตองครั้งแรก หลังจากปลูกกล้วยได้ 8 เดือน โดยจะตัดต่อเมื่อกล้วยแท่งหน่อแล้ว
- การตัดใบตองกล้วยตานีให้มีคุณภาพในพื้นที่ 10 ไร่ ควรตัดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยตัดใบที่ 2-3 รองจากใบเทียน (ใบเทียน คือ ใบกล้วยที่แท่งออกมา ลักษณะใบยังม้วนอยู่) มีลักษณะใบตั้งตรง
เทคนิคการตัดใบตองกล้วยตานีให้มีคุณภาพ
เทคนิคการตัดใบตองกล้วยตานีให้มีคุณภาพ
- ใช้ขอเกี่ยวกดใบให้เอนขนานกับพื้นแล้วจึงตัด
- การตัด ตัดช่วงที่ไม่มีน้ำค้าง ช่วงที่เหมาะที่สุด คือ ช่วง 3 โมง - 5 โมงเย็น ถ้ามีน้ำค้างใบจะเปื้อนง่าย
- ช่วง 3 โมง- 5 โมงเย็น ใบกล้วยจะรับแสงมากในเวลากลางวันทำให้ใบอ่อนไม่แตกง่าย
- การตัดแต่ละครั้งให้เหลือหูใบไว้ประมาณ 15 นิ้ว
- การตัดแต่ละครั้งให้เหลือหูใบไว้ประมาณ 15 นิ้ว
- เมื่อตัดแล้วต้องรีบเก็บโดยให้ตั้งใบตองไว้กับต้น เพื่อป้องกันการไหลของยางกล้วยไปติดใบ
โรคและแมลง
ภาพที่ 1 : ต้นกล้วยที่ถูกไวรัสเข้าทำลาย
ภาพที่ 2 : แมลงปีกแข็งเจาะทำลายใบ
ลักษณะใบตองที่มีคุณภาพ และตลาดต้องการ (เกรด A)
- ต้องตัดใบรองจากเทียน
- ขนาดความกว้างของใบ ช่วง 8-14 นิ้ว
- ใบไม่มีตำหนิ
- ขอบใบตองต้องไม่มีลักษณะไหม้
- ใบแตกได้ไม่เกิน3 แฉก
ผลผลิตที่ได้ต่อ 1 ไร่
ผลผลิตที่ได้ต่อ 1 ไร่
1. ใบตองจะตัดได้ตลอดทั้งปี
- ช่วงเดือน พ.ค. - ธ.ค. ผลผลิต 1,500 ใบ/เดือน/ไร่
- ช่วงเดือน ม.ค. - เม.ย. ผลผลิต 700 ใบ/เดือน/ไร่
รวมผลผลิตทั้งปี 14,800 ใบ/เดือน
2. ปลีกล้วย ผลผลิต 250 กก./ไร่
3. ผลกล้วยอ่อน ผลผลิต 1,000 กก./ไร่
4. ต้นกล้วย เกษตรกรนำต้นกล้วยไปใช้ประโยชน์ได้ 3 ทาง คือ
- นำไปทำเชือก ต้นกล้วยที่ไม่สามารถ ตัดใบได้ 1 ต้น สามารถทำเชือกได้ 1.5 กก. (น้ำหนักแห้ง) หรือประมาณ 300 กก./ไร่
- นำต้นกล้วยไปคลุมหน้าดินไม้ผลชนิดอื่นๆ เช่น มะปราง ละมุด ในช่วงแล้ง
ถ้าใช้คุม 2 ชิ้น ในช่วงฤดูแล้งไม่ต้องให้น้ำต้นพืชเลย เพราะน้ำจากต้นกล้วยจะช่วยให้ความชื้นในดินได้นาน 4 เดือน
- ต้นกล้วยที่แทงหน่อมามากเกินความจำเป็น สามารถนำไปประกอบอาหารได้
5. ผลกล้วยสุก จะมีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย เหมาะสำหรับนำไปประกอบอาหารและการทำขนมจะคงสภาพได้ดีกว่ากล้วยชนิดอื่น ข้อเสียคือ มีเมล็ดมาก ก่อนนำไปประกอบอาหารต้องเอาเมล็ดออกก่อน
การตลาด
การตลาด
1. ผลผลิต (ใบตอง) ที่ตำบลคลองกระจงส่งตลาดทั้งในประเทศ (ในจังหวัดและนอกจังหวัด) และต่างประเทศ เป็นมูลค่า 180,000 - 360,000 บาท/วัน
2. ผลผลิตปลีกล้วย ประมาณเดือนละ 83 ตัน ๆละ 2,000 บาท มูลค่า 166,000 บาท/เดือน
3. ผลกล้วยอ่อน ประมาณเดือนละ 300 ตันๆละ5,000 บาท มูลค่า 1,500,000 บาท/เดือน
4. เชือกกล้วย เกษตรกรที่ผลิตเชือกกล้วยจำหน่ายมีไม่มากเนื่องจากส่วนใหญ่จะทำเป็นรายได้เสริม โดยจำหน่ายกิโลกรัมละ 8 บาท
5. ตลาดรับซื้อใบตองกล้วยตานี
- ตลาดในประเทศ ได้แก่ ตลาด อตก., ตลาดมหานาค, ปากคลองตลาด, ตลาดไทย และตลาดสี่มุมเมือง ภาคอีสาน ได้แก่ ขอนแก่น ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง
- ตลาดต่างประเทศ ได้แก่ อเมริกา, ยุโรป, ไต้หวัน, ฮ่องกง
- ตลาดที่สามารถขยายได้ ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน และแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6. การคัดเกรดใบตอง แบ่งเป็น 3 เกรด
เกรด A ส่งตลาดต่างประเทศและกรุงเทพฯ
เกรด B ส่งตลาด ขอนแก่น และภายในจังหวัด
เกรด C ส่งตลาด ลำปาง เชียงใหม่
ข้อจำกัดของการปลูกกล้วยตานี
1. สภาพการปลูกต้องปลูกร่วมกับพืชอื่นเพื่อกันลม
2. ต้องศึกษาด้านการตลาด
แหล่งความรู้ (คุณกิจ)
นายบุญชอบ เอมอิ่ม เกษตรกรดีเด่นจังหวัดสุโขทัย โทร. 081-8881739
นายบุญชอบ เอมอิ่ม เกษตรกรดีเด่นจังหวัดสุโขทัย โทร. 081-8881739
นายจำนงค์ แดงเรือ เกษตรกรผู้ปลูกล้วยตานี
นางสาวสมัย กลมกล่อม เกษตรกรผู้ปลูกล้วยตานี
ผู้ถอดความรู้ (คุณอำนวย)
นางเยาวธิดา ศักดิ์พงศ์สิงห์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
นางเยาวธิดา ศักดิ์พงศ์สิงห์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
นางสาวหทัยทิพย์ แท่นทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
ผู้จดบันทึก (คุณลิขิต)
นางสาวหทัยทิพย์ แท่นทอง
นางสาวหทัยทิพย์ แท่นทอง
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง